www.siamhat.com สรรหามาฝาก
การสวมหมวกของสตรีสมัยรัฐนิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. ( 2480-2500 )
การสวมหมวกของสตรี
การสวมหมวก ของสตรีนั้น เป็นเรื่องที่รัฐให้ความสำคัญมาก เน้นว่าเป็นการนำชาติ ไปสู่อารยะ ถึงกับมีคำขวัญว่า ” มาลานำชาติไทย ” เนื่องจากสตรีไม่คุ้นกับการสวมหมวก รัฐจึงมีการประชุมปรึกษาวางระเบียบ เกี่ยวกับ การสวมหมวก และถือเป็น นโยบาย สำคัญ ที่จะต้องดำเนินโดยรีบด่วน และร่วมมือกันมีการกำหนด ประเภทของหมวก ที่ใช้ตามโอกาส ต่างๆ และแบ่งหมวก เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือประเภททั่วไป และ ประเภทพิเศษหมวกประเภททั่วไป
หมวกประเภททั่วไป หมายถึง หมวกที่ใช้ในการทำงานในชีวิตประจำวัน เพื่อความสุภาพเรียบร้อย สมกับประเพณีนิยม และเพื่อในการกันฝนกันแดด กันน้ำค้าง หมวกประเภทนี้ควรมีลักษณะเรียบๆ ปีกเล็กหรือไม่มีปีก และสีไม่ฉูดฉาด ไม่มีเครื่องประดับมากนัก และควรใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในประเทศ เช่น ใบเตย กก ใบลำเจียก ฟาง ใบตาล ใบลาน ไม้ไผ่ ผ้า อาจประดับดอกไม้บ้างเพิ่อความสวยงามหมวกประเภทพิเศษ
หมวกประเภทพิเศษ หมายถึง หมวกที่ใช้เป็นอาภรณ์ประดับเพื่อความงาม มีการประดับประดา ด้วยอาภรณ์ต่างๆ เช่น ดอกไม้หรือเครื่องประดับแรงงาน ใช้ในโอกาสพิเศษเช่น ไปเดินเล่น ไปงานเลี้ยงน้ำชา เป็นต้นทรงผมของสตรีไทยในสมัยจอมพล ป. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สตรีไทย พึ่งจะเริ่มนิยมผมดัดหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยดัดด้วยไฟฟ้า เป็นลอน มากบ้างน้อยบ้าง และนิยมไว้ผมยาวมากขึ้น มีการดัดยาวและดัดผมสลวย แบบหญิงชาติตะวันตก สำหรับสตรีสูงอายุ มักนิยมเกล้ามวย แต่ส่วนใหญ่แล้ว เป็นมวยแบบเรียบๆอ้างอิง : หนังสือพัสตราภรณ์ไทย ถวายไท้ ราชินี
ถ้าชอบหมวกสานก็ www.siamhat.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น