ก่อนมาเป็นหมวกสานไม้ไผ่ เรามาทำความรู้จักไม้ไผ่ในไทยกันสักนิด
ไม้ไผ่ที่พบในไทยมีประมาณ 44 ชนิด
แต่ที่ทั่วไปนำมาใช้ในการก่อสร้าง จะมีประมาณ 7 ชนิด**
1. ไผ่ตง
แหล่งที่พบ : ภาคกลาง (ปราจีนบุรีปลูกกันมากที่สุด)
ลักษณะ : ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร
ปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ไม่มีหนาม
ประโยชน์ : หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรง
2. ไผ่สีสุก
แหล่งที่พบ : พบทั่วไป มีมากในภาคกลางและภาคใต้
ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวสด ลำต้นขนาดสูง ปล้องใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดีที่ข้อจะมีกิ่งเหมือนหนาม ทำให้บริเวณข้อค่อนข้างแข็งแรง
ประโยชน์ : ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี เช่น นั่งร้านก่อสร้าง ร้านค้าขายของ
3. ไผ่ลำมะลอก
แหล่งที่พบ : ทั่วไป แต่ภาคใต้จะมีน้อยมาก
ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตรลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร
ประโยชน์ : ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี คล้ายๆกับไผ่สีสุก แต่มีความสวยงามน้อยกว่า
4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม
แหล่งที่พบ : มีทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะ : ต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร
ประโยชน์ : ใช้ทำโครงบ้าน(ขนาดเล็ก) ใช้ทำนั่งร้าน
5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ
แหล่งที่พบ : กาญจนบุรี จันทบุรี
ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร
ประโยชน์ : เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง และการทำเครื่องจักสาน
6. ไผ่เฮียะ
แหล่งที่พบ : มีทางภาคเหนือ
ลักษณะ :ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร
ประโยชน์ : ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน (แต่รับน้ำหนักได้ไม่มากเท่าไม้จริง*)
7. ไผ่รวก
แหล่งที่พบ : กาญจนบุรี
ลักษณะ : ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร เมื่อโตจะเป็นกอๆ
ประโยชน์ : ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ
ประโยชน์หลักๆที่พบจากการใช้ไม่ไผ่
1 การนำไปทำโครงสร้างชั่วคราว เนื่องจากมีความแข็งแรงก่อสร้างได้ไว และราคาถูก เช่นนั่งร้านการทำการก่อสร้าง ส่วนประกอบร้านค้าขายของ ซึ่งไม้ไผ่ที่ทำได้ก็คือ ไผ่สีสุก ไผ่ป่า ไผ่ดำ ไผ่สำมะลอก
2. การนำไปทำโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี เช่นโครงหลังคา เสา คาน สำหรับอาคารไม้ ที่ใช้โครงสร้างเบา แต่มีความสามรถในการรับแรงมากกว่า โครงสร้างชั่วคราว ไม้ไผ่ที่สามารถทำได้ก้คือ ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่สีสุก ไผ่ป่า
3.การนำไปทำเครื่องจักสาน และเยื่อกระดาษ รวมถึงส่วนประกอบของอาคารอื่นๆที่ไม่ต้องการความแข็งแรงและการรับแรง ซึ่งได้แก่ไผ่รวก กับไผ่ดำ
ส่วนไผ่อื่นๆอีกมากมาย ก็อาจใช้ประโยชน์ได้คล้ายๆกับที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงพิษณุโลกเอง ก้มีห้างนา และร้านค้า ที่ทำจากไม้ไผ่
แหล่งที่พบที่พิษณุโลกคือ อำเภอวังทอง ชาติตระการ นครไทย
บางกระทุ่ม และเนินมะปราง
ภาคผนวก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น