23.12.53

หมวกสาน


หมวกสาน

                        
                           หมวกสาน จากวัสดุธรรมชาติ(ไม้ไผ่และใบลาน)และวัสดุสังเคราะห์ หลากหลายรูปแบบทันสมัยตามแฟชั่นและแบบออริจินอล ขายปลีกและส่ง เป็นงานศิลปะหัตถกรรมฝีมือของคนในชุมชน จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน

                    นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและช่องทางหนึ่งเท่านั้นของการเผยแพร่ การอุดหนุนของท่านทุกชิ้นที่เกิดขึ้นจะช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์ให้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และเป็นมรดกของคนในชุมชนเพื่อสร้างงานศิลปะหัตถกรรมต่อไป อีกทั้งยังสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตคนในชุมชนให้มีรายได้จากการผลิตงานเหล่านี้ ซึ่งนี่จะถือเป็นก้าวแรกของการเผยแพร่สินค้าที่คนทั่วไปรู้จักกันดี แต่แบบที่เห็น ลวดลายที่ใช้ ทั้งที่มาของวัสดุบางชิ้นที่กว่าจะมาเป็นตัวหมวกสัก 1 ใบ คงหาซื้อได้ไม่ง่ายตามห้างสรรพสินค้า และ สถานที่ทั่วๆไป ถึงเวลาที่ไทยจะช่วยอุดหนุนไทยแล้ว ก่อนจะให้ชาวต่างชาติได้ใช้ ขอคนไทยมาอุดหนุนกันก่อน ให้เราเป็นคนนำแล้วฝรั่งตามบ้างนะครับ

หมวกสานใบลานสีขาว ทรงคาวบอย(ยอดนิยม)

หมวกสานงานฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้าน จากแหล่งผลิตโดยตรง
ราคาส่งเริ่มต้นที่ 13 บาท (ขึ้นอยู่กับแบบ)
สนใจสินค้าติดต่อ thai.do.hat4u@gmail.com , thai_do_hat4u@hotmail.com
โทร 088-245-4188 ,053-521-818


หมวกสานใบลาน ทรงแหม่ม

หมวกสานไม้ไผ่ ทรงแหม่ม
หมวกสานใบตาล ทรงกำนัน
หมวกสานไนลอน ทรงปีกกว้าง

หมวกสานไม้ไผ่ ทรงโบราณ



หมวกสานไม้ไผ่ ทรงหลังเต่าเปลือย


หมวกสานใบลานสลับสีธรรมชาติ ทรงคาวบอย

หมวกสานไม้ไผ่ ทรงคาวบอย


หมวกสานไม้ไผ่ ทรงปีกกว้าง

หมวกสานไนลอน ทรงพื้นบ้าน

หมวกสานใบลานสลับสีธรรมชาติ ทรงแหม่ม

หมมวกสานใบลานสีธรรมชาติ ทรงคาวบอย


17.12.53

ไม้ไผ่ของไทย รู้ไว้สักนิด

ก่อนมาเป็นหมวกสานไม้ไผ่ เรามาทำความรู้จักไม้ไผ่ในไทยกันสักนิด
ไม้ไผ่ที่พบในไทยมีประมาณ 44 ชนิด 
แต่ที่ทั่วไปนำมาใช้ในการก่อสร้าง จะมีประมาณ 7 ชนิด**
 1. ไผ่ตง
 แหล่งที่พบ :  ภาคกลาง (ปราจีนบุรีปลูกกันมากที่สุด)
ลักษณะ  :  ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร
ปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ไม่มีหนาม
ประโยชน์ : หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร  เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรง
2. ไผ่สีสุก
แหล่งที่พบ :  พบทั่วไป   มีมากในภาคกลางและภาคใต้
ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวสด  ลำต้นขนาดสูง ปล้องใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดีที่ข้อจะมีกิ่งเหมือนหนาม ทำให้บริเวณข้อค่อนข้างแข็งแรง
ประโยชน์  : ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี  เช่น  นั่งร้านก่อสร้าง  ร้านค้าขายของ
 3. ไผ่ลำมะลอก
แหล่งที่พบ : ทั่วไป แต่ภาคใต้จะมีน้อยมาก
ลักษณะ  : ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตรลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร
ประโยชน์  :  ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี  คล้ายๆกับไผ่สีสุก  แต่มีความสวยงามน้อยกว่า
         4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม
แหล่งที่พบ  :  มีทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะ  : ต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร
ประโยชน์  : ใช้ทำโครงบ้าน(ขนาดเล็ก) ใช้ทำนั่งร้าน
         5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ
แหล่งที่พบ :   กาญจนบุรี  จันทบุรี 
ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร
ประโยชน์ : เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง  และการทำเครื่องจักสาน
6. ไผ่เฮียะ
แหล่งที่พบ  :  มีทางภาคเหนือ
ลักษณะ  :ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ  เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร
ประโยชน์  : ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน (แต่รับน้ำหนักได้ไม่มากเท่าไม้จริง*)
7. ไผ่รวก
แหล่งที่พบ :  กาญจนบุรี
ลักษณะ :  ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร  เมื่อโตจะเป็นกอๆ  
ประโยชน์  : ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ
ประโยชน์หลักๆที่พบจากการใช้ไม่ไผ่
1 การนำไปทำโครงสร้างชั่วคราว  เนื่องจากมีความแข็งแรงก่อสร้างได้ไว  และราคาถูก  เช่นนั่งร้านการทำการก่อสร้าง  ส่วนประกอบร้านค้าขายของ  ซึ่งไม้ไผ่ที่ทำได้ก็คือ  ไผ่สีสุก  ไผ่ป่า  ไผ่ดำ  ไผ่สำมะลอก
2. การนำไปทำโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี  เช่นโครงหลังคา เสา คาน  สำหรับอาคารไม้ ที่ใช้โครงสร้างเบา  แต่มีความสามรถในการรับแรงมากกว่า โครงสร้างชั่วคราว  ไม้ไผ่ที่สามารถทำได้ก้คือ  ไผ่เฮี๊ยะ  ไผ่สีสุก ไผ่ป่า
3.การนำไปทำเครื่องจักสาน  และเยื่อกระดาษ  รวมถึงส่วนประกอบของอาคารอื่นๆที่ไม่ต้องการความแข็งแรงและการรับแรง  ซึ่งได้แก่ไผ่รวก กับไผ่ดำ
ส่วนไผ่อื่นๆอีกมากมาย ก็อาจใช้ประโยชน์ได้คล้ายๆกับที่กล่าวไว้ข้างต้น  รวมถึงพิษณุโลกเอง  ก้มีห้างนา และร้านค้า  ที่ทำจากไม้ไผ่
แหล่งที่พบที่พิษณุโลกคือ อำเภอวังทอง ชาติตระการ  นครไทย
บางกระทุ่ม  และเนินมะปราง
(ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.panyathai.or.th/)
ภาคผนวก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

          


ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

16.12.53

หมวกสานไม้ไผ่ให้ท่านจิโซ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ใจกลางเทือกเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี มีสามีภรรยาคู่หนึ่งยากจนมาก แต่ทั้งสองก็รักกันมาก
ในปีนั้น หิมะตกหนักมากกว่าปกติ และตกลงมาก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือนเสียอีก ทำให้พืชพรรณธัญญาหารที่จะสะสมไว้มีน้อยกว่าปีอื่นๆ ยิ่งใกล้ช่วงปีใหม่ข้าวที่มีอยู่ก็ยังไม่พอจะทำโมจิสำหรับปีใหม่เลย


"หิวจังเลย ท้องร้องตลอดเวลาเลย" สามีพูดขึ้น
"ที่รัก ดูอย่างฉันสิ อดทนด้วยการทำหมวกสานนี่ ทำให้ลืมหิวได้นะ" สามีประหลาดใจ ดูหมวกสานที่ปักอย่างประณีตของภรรยา
"อืมม...ถ้าเอาเข้าไปขายในเมือง คงจะได้เงินมาซื้อข้าวทำโมจิได้สักก้อนหนึ่ง" จึงออกความคิดนี้กับภรรยา ซึ่งเธอก็เห็นด้วยกับเขาในเรื่องนี้ ชายหนุ่มจึงเตรียมตัวเดินทางเข้าเมืองพร้อมกับนำผ้าเช็ดหน้าของภรรยามาโพกศีรษะเพื่อกันหิมะ
"เดินทางปลอดภัยนะ ที่รัก" หล่อนเฝ้าดูเขาเดินฝ่าลมหิมะหายไป พร้อมกับเสียงร้องเพลง
"ขึ้นเนินนี้ ลงทางนี้ ข้ามภูเขา ผ่านเนินเขา ขายหมวกนี้ วันปีใหม่ เราจะมีเค้ก ปลา เทมปุระ"
จนกระทั่งมาถึงยอดเขาจิโซ ที่มีรูปสลักเทพผู้ดูแลเด็กๆ 6 องค์ตั้งอยู่ เขาจึงสวดมนต์ขอพรให้สามารถขายหมวกได้ พร้อมกับปัดกวาดหิมะบนรูปสลัก จากนั้นก็เดินทางต่อจนถึงเมืองเวลาบ่าย


"หมวกปักครับ หมวกปัก หมวกปักสวยๆ สำหรับคุณผู้หญิง"
แต่ไม่มีใครสนใจเขาเลย
จากนั้นเขาก็เดินทางกลับ พอมาถึงยอดเขา เขาก็เข้าไปขอโทษรูปสลักจิโซเนื่องจาก เขาไม่มีโมจิมาถวายอย่างที่ได้สัญญาไว้แต่แรก จะมีก็แต่หมวกที่ขายไม่ออกเท่านั้น จึงได้นำหมวกเข้าไปสวมให้รูปสลักจิโซองค์ละใบ แต่มีหมวกอยู่แค่ 5 ใบเท่านั้น เขาจึงต้องเอาผ้าที่โพกหัวอยู่นั้นไปโพกไว้ที่จิโซองค์ที่เล็กที่สุดแทน

เมื่อมาถึงบ้าน ภรรยาไม่ได้ต่อว่าอะไรเขาเลย "ดีจังเลยนะ สิ่งที่คุณทำน่ะ" แล้วทั้งคู่ก็เข้านอน

ตอนดึกของคืนนั้น สองสามีภรรยาได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครมจึงเปิดประตูออกไปดู สิ่งที่ทำให้ทั้งสองตะลึงก็คือ ข้าวปลาอาหารจำนวนมากที่ล้มกองอยู่ ไม่ขาดแม้แต่ข้าวสำหรับทำโมจิอย่างที่ต้องการ พร้อมกันนั้นก็ได้เห็นเงาลางๆของจิโซทั้ง 6 เคลื่อนไหวอยู่ลิบๆ.....
ที่มา: japan world mook series

หมวกพระราชทาน



ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอล "ทีมชาติอังกฤษ" คือทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) โดยวงการลูกหนังเมืองผู้ดีเรียกหมวกดังกล่าวว่า "หมวกแก๊ป" (INTERNATIONAL CAP) นับเป็นเวลานานกว่า 119 ปี ต่อมา กลุ่มชาติสมาชิกเครือจักรภพอังกฤษ อันประกอบด้วย เวลส์, สก๊อตแลนด์ และไอร์แลนเหนือ จึงดำเนินรอยตามประเพณีการให้หมวกแก่นักฟุตบอลทีมชาติของตน นอกจากเพื่อเป็นเกียรติประวัติส่วนตัวแล้ว ยังบ่งบอกถึงสถิติการลงเล่นระหว่างชาติ ด้วยการนับจำนวนของหมวกที่ได้รับมานั้นด้วย

ภายหลังการกำเนิดหมวกทีมชาติอังกฤษ 29 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คือ อังกฤษ จึงได้นำประเพณีการมอบหมวกแก่คณะฟุตบอลสยาม หรือ "ทีมชาติสยาม" ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2458 ณ สนามสามัคยาจารย์สมาคม ภายในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

โดยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้คณะฟุตบอลสยามนำ "ตราพระมหามงกุฎ" ประดิษฐานอยู่เหนือลูกฟุตบอล เพื่อนำไปติดไว้บนหน้าหมวก ลักษณะของหมวกคล้ายกับหมวกลูกเสือสำรองของไทยในปัจจุบัน คือ มีปีกด้านหน้า ส่วนตัวหมวกจะสลับพื้นสีแดงขาว ขลิบเส้นด้วยดิ้นสีทอง และมีภู่บนยอดของหมวก พร้อมทั้งมีข้อความใต้ตราพระมหามงกุฎ แสดงวันที่ เดือน และพุทธศักราช ที่ได้ลงแข่งขันระหว่างชาติขณะนั้น

หนังสือพิมพ์ กรุงเทพ ฯ เดลิเมล์ ฉบับวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ได้ลงข่าวคำกล่าวของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) สภานายกฟุตบอลคนแรกของสยาม ดังนี้

"...หมวก เครื่องหมายความสามารถฟุตบอล ที่ท่านจะได้รับไปในเวลาอีกสักครู่หนึ่งนี้ ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ตราพระมหามงกุฎ ซึ่งควรรู้สึกว่าเปนเกียรติยศการรักชาติ ย่อมจะแสดงได้หลายสถาน แต่การที่ท่านตั้งใจเข้าเล่นแข่งขัน ให้ถึงซึ่งไชยชนะให้แก่ชาติในคราวนี้ ก็เปนส่วนหนึ่งแห่งการรักชาติ..."

อนึ่ง นักฟุตบอลทีมชาติสยามที่เคยได้รับหมวกพระราชทานดังกล่าวและปรากฏชื่อตามเอกสารสิ่งพิมพ์เก่าเท่าที่ค้นพบหลักฐาน คือ นายอิน สถิตยวณิช, นายต๋อ ศุกระศร, นายภูหิน สถาวรวณิช, นายกิมฮวด (วัฒน์) วณิชยจินดา, นายตาด เสตะกสิกร, นายแถม ประภาสะวัต, นายศรีนวล มโนหรทัต, นายชอบ หังสสูต, นายโชติ ยูปานนท์, นายจรูญ รัตโนดม, หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, นายบุญชู ศีตะจิตต์, นายสวาสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, นายอู๋ พรรธนะแพทย์, นายเพิ่ม เมษประสาท, นายบุญสม รัชตะวรรณ และนายผัน ทัพภะเวส

นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลต่าง ๆ ในรัชสมัย "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ล้วนแล้วแต่มีการจัดทำหมวกประจำทีม โดยจะมีตราของสโมสรเหล่านั้น ติดอยู่บนหน้าหมวกเช่นกัน นับว่าเป็นพระวิสัยทัศน์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เพื่อทรงต้องการให้ราษฏรชาวสยามเล่นฟุตบอลเป็นการออกกำลังกายแล้ว พระราชประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือการสร้างความสามัคคีและรักหมู่คณะของคนไทยด้วยกัน เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นสยามตกอยู่ในฐานะ "รัฐกันชน" ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างสองชาติมหาอำนาจจักรวรรดิ์นิยมตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศส นั้นเอง

แม้ปัจจุบันนี้ "หมวกพระราชทาน" จะยังไม่ปรากฏว่ามีการเก็บรักษาไว้อย่างไรหรือไม่ แต่ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้รับทราบจากลูกหลานอดีตนักฟุตบอลทีมชาติชุดแรกของไทย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และนายภูหิน สถาวรวณิช ซึ่งกล่าวว่าเคยได้เห็นหมวกดังกล่าว แต่เพราะสภาพความเก่าและชำรุดตามกาลเวลา จึงทำให้ไม่มีใครสนใจนักจนต่อมาคงสูญหายไป

จากเหตุการณ์นั้น สาเหตุก็เพราะการไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมา เพราะแท้จริงแล้ว "หมวกพระราชทาน" มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์การกีฬาของชาติไทยเลยทีเดียว นอกจากจะแสดงถึง "เกียรติภูมิทีมชาติไทย" อันทรงคุณค่าและศักดิ์ศรี "ตราพระมหามงกุฎ" ของสถาบันกษัตริย์แห่งสยามเช่นเดียวกับ "ตราสิงโตสามตัว" บนหน้าหมวกกำมะหยี่สีน้ำเงิน (BLUE VELVET) ของทีมชาติอังกฤษ อาจกล่าวได้ว่าในโลกลูกหนังมีเพียงสองทีมเท่านั้น ที่ได้รับเกียรติยศจากสถาบันสูงสุดของระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ

ในปัจจุบัน สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย จึงทำการศึกษาข้อมูลและค้นคว้ารายละเอียดต่าง ๆ เพื่อจัดทำ "หมวกพระราชทาน" และชุดแข่งขันคณะฟุตบอลสยามสมัยเริ่มแรกขึ้นมาใหม่ โดยเลียนแบบจากภาพเก่าและคำบอกเล่าของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อต้องการให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาและร่วมภาคภูมิใจ พร้อมทั้งนำเข้าพิธีบวงสรวงในช่วงเช้าของงานกิจกรรมและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "123 ปี พระผู้พระราชทานกำเนิดฟุตบอลสยาม" มีโหรหลวง นายศิริพงษ์ วัชโรทัย ประกอบพิธีบวงสรวง ก่อนที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะทรงเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ณ วชิราวุธวิทยาลัย

โดยจะสามารถเข้าชม "หมวกพระราชทาน" ดังกล่าวได้ ณ พระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เนื่องจากสมาคมกำลังดำเนินการรวบรวมสิ่งของต่าง ๆ เพื่อจัดแสดงเป็น "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" ขึ้นเป็นแห่งแรกของวงการลูกหนังเมืองไทย.

ที่มา:จิรัฏฐ์ จันทะเสน สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย


15.12.53

ทายนิสัยกับการเลือกใส่หมวก


แต่ละคนล้วนมีลักษณะการแต่งตัวที่ค่อนข้างหลากหลายสไตล์ แม้แต่การเลือกสวมหมวกของแต่ละคนนั้น รับรองว่าต้องไม่เหลือนกันอย่างแน่นอน แต่คุณคงไม่ทราว่าหมวกที่คุณเลือกสวมใส่นั้น สามารถบอกนิสัยของคุณได้เป็นอย่างดี

    
หมวกแก๊บแบบบอย ๆ คุณมีความคิดอ่านที่ทันสมัยและยังเป็นผู้มีหัวใจเป็นเด็กอยู่เสมอ ส่วนที่ชอบใส่หมวกแบบนี้จึงเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป หรือไม่ก็ตามคอนเสริ์ตคะ

    
หมวกสานแนวพื้นเมือง ผู้ที่ชอบสวมใส่หมวกประเภทนี้เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี และเธอยังมีความมั่นใจในตัวของตัวเองอย่างสูง แม้ในบางครั้งเธอจะเหมือนเป็นพี่สาวที่เข้มงวดจัดก็ตาม

    
หมวกถักจากนิตติ้ง เป็นสาวช่างคิดดั่งไหมของนิตที่ถักทอมาเป็นหมวก ค่อยข้างติดดินและมีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่คนเดียว โหยหาความอบอุ่นอยู่เสมอ

    
ใส่เสื้อมีหมวก คุณเป็นผู้หญิงเรียบง่าย ไม่ใส่ใจเรื่องแฟชั่นเท่าไหร่นัก มักเป็นผู้หญิงที่เดายาก เพราะความเคร่งขรึมนี่แหละ

    
หมวกทรงกลมน่ารัก ๆ คุณเป็นสาวหวานที่มีความอ่อนไหวกับเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถเป็นที่รักและเอ็นดูของผู้ใหญ่เสมอ มักจะเป็นคนพูดจาดี น่าคบหา

หมวก กับสภาพอากาศในประเทศไทย

หมวกนับเป็นอาภรณ์ประดับกายของมนุษย์ ที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจในการสวมใส่
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ใช้สอยในเรื่องการป้องกันแสงแดด รังสียูวี และระดับความชื้นให้กับร่างกายอีกด้วย
หมวกนับเป็นอาภรณ์ประดับกายของมนุษย์ ที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจในการสวมใส่
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ใช้สอยในเรื่องการป้องกันแสงแดด รังสียูวี และระดับความชื้นให้กับร่างกายอีกด้วย
ผลการสำรวจของนักวิจัยไทยพบว่า ค่าความเข้มของรังสียูวีในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วมีค่ามากกว่า 4 กิโลจูนต่อตารางเมตรในหนึ่งวัน (kJ/m2-day)
ซึ่งเป็นระดับที่เป็นอันตรายกับผิวหนังของคนเรา ดังนั้นการสวมหมวกจึงเป็นเครื่องช่วยป้องกันภัยจากรังสียูวีอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความคล่องตัวในการพกพาและใช้งาน
การสวมใส่หมวกปีกกว้างที่มีขนาดปีกตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป จะช่วยลดปริมาณแสงยูวีได้ถึงร้อยละ 50 ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยปกป้องผิวหน้าจากแสงแดดและลม
ที่จะทำให้เกิดโรคตาต่างๆเช่น ต้อกระจก ต้อลม ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเม็ดสีผิว(melanin) บนใบหน้า
เช่น ฝ้าและจุดด่างดำต่างๆ อันเป็นศัตรูความงามของคุณผู้หญิง และหมวกนี่เองที่ช่วยปกคลุมศีรษะ เก็บกักความชื้นจากร่างกายส่วนหนึ่งที่ไม่ให้ระเหยไปกับความร้อนในอากาศ
เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย อีกทั้งป้องกันเส้นผมไม่ให้ถูกทำร้ายจากรังสียูวี อันจะทำให้เส้นผมเสีย แห้ง แตกปลายอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หมวกเป็นเพียงตัวช่วยป้องกันได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ควรที่จะหลีกเลี่ยงช่วยเวลาที่มีแสงแดดจ้า สวมใส่แว่นกันแดดเพื่อช่วยถนอมดวงตา
ทาครีมกันแดดที่มีค่าSPFให้เหมาะสมกับการป้องกันผิวหนังจากแสงแดด ดื่มน้ำให้เพียงพอเมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดจ้าเพื่อรักษาระดับความชื้นภายในร่างกาย
สุดท้ายอย่าลืมพกอุปกรณ์ช่วยกันแดดเช่นหมวกติดกระเป๋าไว้ตลอดเวลานะคะ
ผลการสำรวจของนักวิจัยไทยพบว่า ค่าความเข้มของรังสียูวีในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วมีค่ามากกว่า 4 กิโลจูลต่อตารางเมตรในหนึ่งวัน (kJ/m2-day)
ซึ่งเป็นระดับที่เป็นอันตรายกับผิวหนังของคนเรา ดังนั้นการสวมหมวกจึงเป็นเครื่องช่วยป้องกันภัยจากรังสียูวีอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความคล่องตัวในการพกพาและใช้งาน
การสวมใส่หมวกปีกกว้างที่มีขนาดปีกตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป จะช่วยลดปริมาณแสงยูวีได้ถึงร้อยละ 50 ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยปกป้องผิวหน้าจากแสงแดดและลม
ที่จะทำให้เกิดโรคตาต่างๆเช่น ต้อกระจก ต้อลม ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเม็ดสีผิว(melanin) บนใบหน้า
เช่น ฝ้าและจุดด่างดำต่างๆ อันเป็นศัตรูความงามของคุณผู้หญิง และหมวกนี่เองที่ช่วยปกคลุมศีรษะ เก็บกักความชื้นจากร่างกายส่วนหนึ่งที่ไม่ให้ระเหยไปกับความร้อนในอากาศ
เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย อีกทั้งป้องกันเส้นผมไม่ให้ถูกทำร้ายจากรังสียูวี อันจะทำให้เส้นผมเสีย แห้ง แตกปลายอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หมวกเป็นเพียงตัวช่วยป้องกันได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ควรที่จะหลีกเลี่ยงช่วยเวลาที่มีแสงแดดจ้า สวมใส่แว่นกันแดดเพื่อช่วยถนอมดวงตา
ทาครีมกันแดดที่มีค่าSPFให้เหมาะสมกับการป้องกันผิวหนังจากแสงแดด ดื่มน้ำให้เพียงพอเมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดจ้าเพื่อรักษาระดับความชื้นภายในร่างกาย
สุดท้ายอย่าลืมพกอุปกรณ์ช่วยกันแดดเช่นหมวกติดกระเป๋าไว้ตลอดเวลา

14.12.53

ประวัติศาสตร์ของหมวก

                         หมวก ถ้าให้พูดถึงของสิ่งนี้ คงไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จัก หลายๆ คนก็คงรู้ถึงวิธีใช้และประโยชน์ของหมวกอีก ไม่ว่าจะใช้สำหรับบังแสงแดดอันร้อนแรง บางคนก็ใช้หมวกบอกถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของอาชีพนั้นๆ เช่น พยาบาล ทหาร ตำรวจ พ่อครัว เป็นต้น บางคนใช้เป็นเครื่องประดับสวมให้เข้ากับเครื่องแต่งกาย หรือเพื่อให้เหมาะสมกับกาลเทศะในงานหรือสถานที่ 
                       ในปัจจุบันหมวก มีแบบมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้เลือกสวมใส่กัน แล้วแต่ความต้องการใช้งานของแต่ละบุคคล แต่จะมีกี่คน ที่จะรู้ว่าที่มาของหมวกนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยไหน และรูปทรงของหมวกในแต่ละยุคเป็นอย่างไรกันบ้าง

              
หมวกลักษณะเป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดดกันฝน เป็นต้น  ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน


      
หมวกในยุคแรกๆ นั้น ได้ถูกทำขึ้นมาจากหนังของสัตว์ แล้วนำเอามาคลุมหัวไว้เพื่อปกป้องอันตรายต่างๆ ถ้าจะให้เรียกว่าหมวกก็คงจะยังไม่ได้ เพราะรูปทรงคงจะไม่เหมือนหรือคล้ายกับหมวกในสมัยนี้เท่าที่ควร
 อาณาจักรกรีกโบราณถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของหมวกในยุคแรกๆ ซึ่งก็เรียกว่า Pileus เป็นหมวกที่มีรูปทรงคล้ายกับศีรษะของมนุษย์มากกว่าการนำผ้ามาคลุมไว้บนศีรษะ ต่อมา The Phrygian cap ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยอิสรภาพ ที่ชาวกรีกและโรมันได้ให้กับทาสเพื่อแสดงว่าทาสเหล่านั้นได้ถูกปลดปล่อยเป็นอิสระและหมวกThe Peatasosเป็นหมวกมีปีกใบแรก ซึ่งถูกคิดค้นโดยชาวกรีกโบราณนั้นเอง หมวกทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากเท่าไรนัก และถูกออกแบบสำหรับไว้ให้ผู้ชายได้สวมใส่เท่านั้น


             
                   จากนั้นหมวกก็ได้วิวัฒนาการตามยุคสมัยมาเรื่อยๆกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกายเป็นแฟชั่น เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนบนโลกจะต้องเคยสวมใส่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ครั้งในชีวิต นับแต่เกิดจนตาย
คุณล่ะมีหมวกเป็นของตัวเองบ้างหรือยัง?
แหล่งที่มา  :  http://www.หมวก.ws/